Animated Rainbow Moustache

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ปริมาณสัมพันธ์

ปริมาณสัมพันธ์

ลาวัวซิเยร์ : กฎทรงมวล
         เมื่อเคมีสมัยใหม่เริ่มต้นในศริสตศตวรรษที่ 18 นักวิทยาศาสตร์เริ่มที่จะสังเกตปริมาณของสาร จากการทดลองของลาวัวซิเยร์ เพื่อแยกแก๊สออกซิเจนออกมา ในการทดลองของ ลาวัวซิเยร์ มีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องดังรูป ด้านล่าง โดยที่นำเมอร์คิวรี่(II)ออกไซด์ใส่ลงไปในขวดคอยาวโดยที่คอขวดต่ออยู่กับครอบแก้วรูประฆังมีปริมาตร 40 ลูกบาศก์นิ้วสำหรับเก็บแก๊สที่เผาได้ โดยใช้เตาเผาที่มีถ่าน (charcoal) เป็นเชื้อเพลิง เขาได้ชั่งน้ำหนักของสารเริ่มต้น ก่อนเผาไว้ จากนั้นทำการเผา เมอร์คิวรี่(II)ออกไซด์ เป็นเวลา 12 วัน จะสังเกตได้ว่าระดับน้ำในขวดรูประฆังลดลงแสดงว่าต้องมีแก๊สเกิดขึ้น ทดสอบโดยการจุดเทียนไขได้เปลวไฟที่สว่าง มากกว่าปกติ ส่วนในขวดคอยาวพบว่ามีปรอทเหลว(mercury)
 จากการชั่งน้ำหนักของสารตั้งต้นในขวดคอยาว และผลิตภัณฑ์ เขาพบว่ามวลโดยรวมของผลิตภัณฑ์ มีมวลเท่ากับเมอร์คิวรี่(II)ออกไซด์ที่เริ่มต้น เขาจึงสรุปออกมาเป็นกฎทรงมวล ว่า

"มวลของสารก่อนทำปฏิกิริยาจะเท่ากับมวลของสารหลังทำปฏิกิริยา"
         ดังนั้น การเผาเมอร์คิวรี่(II)ออกไซด์ (เมอร์คิวริก ออกไซด์)จะให้ผลิตภัณฑ์ออกมา 2 ชนิด ได้แก่ เมอร์คิวรี่ (ปรอทเหลว) และแก๊สออกซิเจน ดังสมการ
2HgO     →     2Hg  +  O2
ตัวอย่างที่1 ในการเกิดโมเลกุลของน้ำจะต้องใช้ ไฮโดรเจน 2 โมล รวมกับ ออกซิเจน 1 โมล จึงได้โมเลกุลของน้ำ 2 โมล ซึ่งจะเป็นอัตราส่วนอย่างนี้ตลอดไป แสดงได้ดังรูปภาพด้านล่าง
2H2 + O2     →          2H2O

ของแข็ง ของเหลว แก๊ส

ของแข็ง ของเหลว แก๊ส

        สมบัติของของแข็ง
                  1. ปริมาตรคงที่ไม่ขึ้นอยู่กับขนาดภาชนะที่บรรจุ
              2. มีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามรูปร่างของภาชนะ
              3. มีอนุภาคอยู่ชิดติดกันอย่างมีระเบียบ
              4. สามารถระเหิดได้
 
โมเลกุลของสารในสถานะของแข็งจะอยู่ชิดกันมาก ของแข็งจึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงกว่าในสถานะของเหลว ทำให้ของแข็งมีรูปร่างและปริมาตรแน่นอน ไม่เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลของของแข็งเคลื่อนที่ไม่ได้ แตก็มีการสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา
 
        การเปลี่ยนสถานะของของแข็ง
 
1. การหลอมเหลว (melting) คือ กระบวนการที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิหนึ่งขณะที่ของแข็ง หลอมเหลวอุณหภูมิจะคงที่เรียกว่า จุดหลอมเหลวของแข็งบริสุทธิ์ต่างชนิดกันมีจุดหลอมเหลวต่างกันเพราะของแข็ง แต่ละชนิดมีแรงยึดเหนี่ยวแตกต่างกันและจุดหลอมเหลวเป็นสมบัติเฉพาะตัวของสาร ที่เป็นของแข็ง
 2. การระเหิด (sublimation) คือ กระบวนการที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นไอ โดยไม่ต้องเปลี่ยนเป็นของเหลวก่อน ส่วนมากของแข็งที่ระเหิดได้เป็นของแข็งที่อนุภาคมีแรงยึดเหนี่ยวกันน้อยเช่นลูกเหม็น (แนพทาลีน) การบูร ไอโอดีน น้ำแข็งแห้ง(co2(s))